การเว้นที่นั่งแถวกลางบนเครื่องบินช่วยให้ปลอดภัยจริงเหรอ

นับตั้งแต่มีการปลดล็อกจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้การเดินทางทุกระบบขนส่งสาธารณะสามารถกระทำได้ แต่ในบางระบบขนส่งยังต้องมีการเว้นระยะห่างทางสังคม หรือ social distancing เช่นเดิม อย่างเช่น บนรถทัวร์และเครื่องบินที่จะต้องเว้นที่นั่งแถวกลางว่างไว้ 

การเว้นที่นั่งแถวกลางช่วยให้ปลอดภัยจริงเหรอ 

หลายคนคงมีคำถามในใจว่า การเว้นที่นั่งแถวกลางไว้ ซึ่งก็จะมีระยะห่างประมาณครึ่งเมตร (ที่นั่งบนเครื่องบินโลว์คอสต์น่าจะห่างกันไม่ถึง 50 ซม.) แล้วมันจะช่วยให้มีความปลอดภัยจริงหรือ ความจริงเรื่องนี้ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ก็ได้ตระหนักเช่นกัน พร้อมกันนั้น ขอให้ดูวิดีโอนี้อันเป็นการสร้างสถานการณ์จำลองที่นั่งบนเครื่องบินให้เห็นกันจะ ๆ  

จากคลิปจะเห็นว่า ถ้าหากมีผู้ป่วยโควิด-19 สักคนที่ไอจามขึ้นมา เชื้อก็จะลอยขึ้นบนอากาศ จากนั้นก็จะกระจายไปด้านข้าง โดยปรกติจะกระจายไปได้ไกลถึง 3 แถวหน้าและหลังจากคนที่ไอ แต่ถ้ามีคนเดินเคลื่อนไหวไปมา ก็จะทำให้อากาศเคลื่อนที่ไปตามคนที่เคลื่อนไหวและทำให้การแพร่กระจายไปได้ไกลยิ่งขึ้นจนถึง 7 แถวหน้าและหลังเลยทีเดียว ดังที่ ศจ. ยาง เชน (Yang Chen) ได้ยกตัวอย่างกรณีที่เกิดจากสายการบินแห่งหนึ่งที่บินจากฮ่องกงไปปักกิ่งตอนเกิดโรคซาร์ส จากการติดเชื้ัอคนเดียวไอทีเดียว ทำให้มีคนติดเชื้อเพิ่มถึง 22 คนและเสียชีวิตถึง 5 คนจากกรณีดังกล่าว 

การเว้นที่นั่งแถวกลางว่างไว้ทำให้สายการบินต้องประสบการขาดทุนหรือไม่ 

ตามหลักแล้วน่าจะทำให้ขาดทุน เนื่องจากขายที่นั่งได้น้อยลง 30% โดยประมาณ แต่เนื่องจากสายการบินโลว์โคสต์โดยปรกติจะมีราคาเพดานที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานการบินพลเรือนอยู่แล้ว และในภาวะปรกติ แทบจะไม่มีสายการบินไหนที่ขายตามราคาเพดานสูงสุด ส่วนใหญ่จะแข่งขันกันและโดยเฉลี่ยค่าตั๋วในประเทศมักจะขายอยู่ที่ประมาณ 800-850 บาท และในช่วงที่คลายล็อกนี้ ผู้คนเดินทางมากขึ้น ขณะเดียวกันทุกาสยการบินก็ขายตั๋วในราคาสูงขึ้นโดยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ประมาณ 1200-1300 บาทซึ่งเท่ากับว่าสูงกว่าราคาในภาวะปรกติถึงกว่า 50% ทำให้หลายสายการบินกลับมีกำไรเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ 

การฆ่าเชื้อด้วยแอลอกฮอลตามพื้นผิวต่าง ๆ ถือเป็นมาตรการที่ขาดไม่ได้

มาตรการความปลอดภัยที่ต้องไม่มองข้าม 

แม้ว่าการเว้นที่นั่งแถวกลางบนเครื่องบินไม่อาจรับประกันความปลอดภัยได้ 100% ก็ตาม แต่มันก็ช่วยให้การรับสัมผัสน้อยลง แต่มันจะมีความปลอดภัยมากกว่านี้ถ้าหากดำเนินมาตรการเหล่านี้ร่วม คือ การสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่เดินทางอยู่บนเครื่องบิน ไม่ว่าจะเป็นหน้ากากผ้า หน้ากากกันฝุ่นหรือหน้ากากทางการแพทย์ ตามหลักการณ์แล้ว ถ้าหากมีผู้ติดเชื้อจริง ๆ การสวมหน้ากากอนามัยทางการแพทย์จะปลอดภัยที่สุด ซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่อยู่ข้างผู้ติดเชื้อปลอดภัยถึง 90 กว่าเปอร์เซ็นต์ ขณะเดียวกัน ทางสายการบินก็ต้องทำการฆ่าเชื้อผิวสัมผัสต่าง ๆ ทั้งที่นั่ง พื้น ที่วางแขน โต๊ะวางของหน้าที่นั่งเป็นต้น ต้องทำสิ่งเหล่านี้ควบคู่กันไปด้วยถึงจะปลอดภัย แม้จะไม่อาจพูดได้ว่าเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ตาม