NASA ชี้สถานีอวกาศจีนไม่ควรใช้คำสั่งภาษาจีนเพราะถือเป็นการละเมิดกฎระเบียบสากล

ยานเสินโจว-12 ที่เพิ่งกลับลงสู่พื้นโลกเมื่อเร็ว ๆ นี้พร้อมกับนำพานักบินอวกาศทั้งสามคนที่ปฏิบัติหน้าที่บนสถานีอวกาศถึง 90 วันกลับมาอย่างปลอดภัย จากแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องเปิดเผยว่า การปฏิบัติภารกิจของเสินโจว-12 ครั้งนี้ถือเป็นเรื่องที่ยากและเสี่ยงมาก เพราะเทคนิคและกลไกต่าง ๆ มีจำนวนไม่น้อยที่เป็นการใช้งานครั้งแรก แม้ขั้นตอนจะดูไม่ยุ่งยากก็ตาม แต่ก็อดห่วงไม่ได้จนเมื่อนักบินอวกาศทั้งสามได้ลงสู่พื้นโลกอย่างปลอดภัยแล้วจึงโล่งอก

จากภาพการเชื่อมต่อยานยานเสินโจว-12 เข้ากับโมดูลหลัก เทียนเหอ (天和)จะสังเกตเห็นว่าปุ่มและคำสั่งทั้งหมดบนอุปกรณ์ล้วนเป็นคำสั่งภาษาจีนตามมาตรฐานของจีน ไม่ใช่ภาษาอังกฤษที่ยอมรับในระดับสากล นั่นหมายความว่า หากนักบินอวกาศ 17 ชาติต้องการที่จะใช้สถานีอวกาศของจีนในการทดลองวิจัยทางวิทยาศาสตร์ พวกเขาก็จะต้องเรียนรู้ภาษาจีนล่วงหน้าและปรับให้เข้ากับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของจีน ไม่ใช่ให้จีนปรับให้เข้ากับพวกเขา

สภาพภายในของสถานีอวกาศเทียนกงในโมดูลหลัก – เทียนเหอ

การเปลี่ยนแปลงนี้ดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่กลับสร้างความไม่พอใจแก่คนบางกลุ่มเป็นอย่างมาก เพราะพวกเขาเห็นว่าสถานีอวกาศควรจะเป็นระบบที่เข้ากันได้กับนานาชาติ โดยใช้ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสากล เพื่อให้ความร่วมมือด้านอวกาศของนานาชาติสามารถดำเนินไปได้ด้วยดียิ่งขึ้น นาซ่าอ้างการกระทำเช่นนี้เป็นการทำลายแนวทางที่ถือปฏิบัติกันมา และที่สำคัญคือส่งผลกระทบต่อความเป็นมหาอำนาจด้านอวกาศของสหรัฐฯ

ในด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์นั้น ใครมีอำนาจในการกำหนดกฎเกณฑ์ก็เท่ากับว่าเป็นผู้ถืออำนาจสิทธิ์ขาดในด้านนั้น การที่นักบินอวกาศมาเรียนรู้ภาษาจีนเป็นเพียงจุดเริ่มต้น ในอนาคตพวกเขายังจะต้องปรับตัวให้เข้ากับกฎเกณฑ์ด้านอื่นๆตามที่จีนกำหนด อำนาจสิทธิ์ขาดและความเป็นมหาอำนาจของอเมริกาก็จะค่อย ๆ หมดลงซึ่งเป็นสิ่งที่สหรัฐฯไม่อยากเห็น เมื่อจีนถืออำนาจสิทธิ์ขาดในการกำหนดกฎเกณฑ์และเปิดกว้างด้านการความมือกับต่างประเทศ กฎหมาย Wolf Act (เป็นกฎหมายที่ออกเมื่อปี 2011 เพื่อห้ามไม่ให้ NASA มีกิจกรรมความร่วมมือใด ๆ กับหน่วยงานของจีน) ก็จะกลายเป็นเศษกระดาษทันที นี่คือเหตุผลที่จีนต้องพัฒนาระบบปฏิบัติการ เขียนคำสั่งเป็นภาษาจีนเพื่อใช้กับสถานีอวกาศของตนเอง

ในทางกลับกัน การใช้ภาษาอังกฤษก็ไม่ได้ทำให้อุตสาหกรรมด้านอวกาศของจีนได้เปรียบแต่อย่างใด เมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา จีนซึ่งเคยแสดงความจริงใจและคาดหวังที่จะสร้างความร่วมมือกับประเทศอื่น ๆ ไม่ว่าการขอเข้าร่วมโครงดาวเทียมนำล่องกาลิเลโอ หรือโครงการสถานีอวกาศนานาชาติ ล้วนถูกประเทศตะวันตกปฏิเสธและกีดกันไม่ให้เข้าร่วม จึงทำให้จีนต้องดำเนินการพัฒนาด้วยตนเองจนเป็นระบบเครือข่าวดาวเทียมเป่ยโต่ว (北斗)และสถานีอวกาศของตัวเองในวันนี้