วงการเซมิคอนดักเตอร์ถูกสหรัฐฯกดดันหนัก อาจถูกกินรวบในที่สุด
เมื่อวันที่ 23 กันยายนที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ และคณะกรรมการเศรษฐกิจแห่งชาติของทำเนียบขาวได้เรียกประชุมผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์เพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาห่วงโซ่อุปทาน ในวันเดียวกันนั้น กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯได้ออกประกาศกำหนดให้บริษัทซัพพลายเชนเซมิคอนดักเตอร์ทั้งหลายจะต้องมอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้แก่กระทรวงพาณิชย์ฯภายใน 45 วัน ซึ่งรวมถึงข้อมูลสินค้าคงคลัง กำลังการผลิต การจัดหาวัตถุดิบ การขาย และข้อมูลลูกค้า ข้อมูลที่รวบรวมครอบคลุมถึงห่วงโซ่อุปทานของเซมิคอนดักเตอร์ทั้งหมด รวมถึงบริษัทออกแบบ ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ ซัพพลายเออร์วัสดุและอุปกรณ์ คนกลาง และผู้ใช้ปลายทาง

อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์เป็นอุตสาหกรรมหลักของเกาหลีใต้ และบริษัทเกาหลีอย่างเช่น Samsung Electronics และ SK Hynix เป็นต้นก็หนีไม่พ้นจำเป็นต้องให้ข้อมูลด้วย ทันทีที่ประกาศข้างต้นจากสหรัฐฯ ออกมา ก็ทำให้เกิดปฏิกิริยารุนแรงจากฝ่ายเกาหลีใต้ในทันที โดยชาวเกาหลีกังวลว่า การกระทำเช่นนี้ของสหรัฐฯจะส่งผลผลเสียต่ออุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของเกาหลีใต้
โดยหนังสือพิมพ์ Korea Economic Daily รายงานว่าสินค้าคงคลัง กำลังการผลิต คำสั่งซื้อ และข้อมูลลูกค้ารัฐบาลสหรัฐฯต้องการนี้เป็นข้อมูลองค์กรที่ละเอียดอ่อนและเป็นความลับทั้งหมด การเปิดเผยข้อมูลนี้หมายถึงการเปิดเผยถึงระดับเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์ของบริษัท ซึ่งอาจทำให้บริษัทต่างๆ ตกอยู่ในฐานะเสียเปรียบ โดยเฉพาะในกระบวนการเจรจาต่อรอง
มีเบื้องหลังหรือผลประโยชน์ซ่อนเร้น

แม้ว่าสหรัฐฯ จะอ้างว่าการรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ก็เพื่อ “ทำความเข้าใจและหาปริมาณห่วงโซ่อุปทานและคอขวดที่อาจมีอยู่” เพื่อแก้วิกฤตการขาดแคลนชิปก็ตาม แต่ทางเกาหลีใต้ก็อดกังวลไม่ได้ว่าสหรัฐฯ อาจมีเจตนาหรือผลประโยชน์อื่นซ่อนเร้น
Korea Economic Daily ตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อเร็วๆ นี้ Intel ได้กระชับความร่วมมือกับรัฐบาลสหรัฐฯ และเริ่มหวนกลับมาผลิตเซมิคอนดักเตอร์เองอีกครั้ง ข้อมูลที่บริษัทต่างๆส่ง ไปยังรัฐบาลสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะรั่วไหลไปยังบริษัทสหรัฐอเมริกา เช่น Intel ก็เป็นไปได้
การตั้งข้อสังเกตนี้ของสื่อเกาหลีใต้ใช่ว่าจะไม่มีเหตุผลเสียทีเดี่ยว เพราะมีตัวอย่างมาแล้วที่รัฐบาลสหรัฐฯต้องการที่จะขจัดอุปสรรคในการแข่งขันให้แก่บริษัทในประเทศ และตัวอย่างที่ถือเป็นกรณีคลาสสิกก็คือกรณีของบริษัท Alstom ประเทศฝรั่งเศส กล่าวคือ ในปี 2013 สหรัฐฯได้จับกุม Frederick Pierucci ผู้บริหารของบริษัทในข้อหาละเมิดกฎหมายต่อต้านการทุจริตในต่างประเทศของสหรัฐฯ (FCPA) ต่อมาได้ยื่นฟ้องเรียกค่าปรับจำนวน 772 ล้านดอลลาร์กับบริษัท Alstom ด้วยแรงกดดันอย่างหนักจากสหรัฐอเมริกา ในที่สุดบริษัทก็จำต้องขายธุรกิจพลังงานให้กับบริษัทคู่แข่งอย่าง General Electric
Joan Park นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตันชี้ให้เห็นว่าสหรัฐอเมริกาหวังที่จะรวมการผลิตชิปในประเทศ สร้างห่วงโซ่อุปทานที่สมบูรณ์ เพื่อรักษาตำแหน่งผู้นำในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของตนทั่วโลก
นักวิเคราะห์เชื่อว่าเมื่อพิจารณาจากความต้องการเชิงกลยุทธ์ของสหรัฐอเมริกาและพฤติกรรมในอดีต ความกังวลที่ว่ารัฐบาลสหรัฐฯจะมอบข้อมูลความลับที่รวบรวมได้ให้กับบริษัทในท้องถิ่นจึงมีความเป็นไปได้อย่างสิ้นเชิง

อเมริกาต้องมาก่อน
รัฐบาลสหรัฐฯ รู้ดีว่าบริษัทต่างชาติจะต้องไม่เต็มใจมอบข้อมูลที่ละเอียดอ่อนและเป็นความลับให้ง่าย ๆ แน่ ดังนั้นจึงได้เตรียมแผน“รับมือ”ไว้แล้ว Raymondo รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ กล่าวว่า “อเมริกายังมีเครื่องมืออื่น ๆ ที่สามารถนำมาใช้เพื่อให้บริษัทต่างๆ ส่งมอบข้อมูลให้” หากบริษัทเหล่านี้ไม่ยอมส่งมอบข้อมูล สหรัฐฯจะใช้มาตรการอื่น เช่น งัดเอากฎหมาย “การผลิตเพื่อการป้องกัน (Defense Production Act)” มาบังคับใช้ เป็นต้น นักวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่าคำกล่าวของ Raymondo ถือเป็นการข่มขู่คุกคามอย่างชัดเจน การเคลื่อนไหวนี้ของสหรัฐฯเป็นการนำเอากฎหมายในประเทศมาจำกัด บีบบังคับ ข่มเหงประเทศอื่น อันเป็นการสะท้อนถึงลัทธิความเป็นเจ้าโลกของสหรัฐอเมริกา