ครั้งแรกในโลกที่สามารถจับ “อากาศธาตุ” มาสังเคราะห์เป็นโปรตีนสำหรับอาหารสัตว์

สถาบันวิจัยอาหารสัตว์แห่งสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรแห่งประเทศจีน (Chinese Academy of Agricultural Sciences Feedstuff Institute) ได้ประกาศเมื่อวันที่ 30 ตุลาคมว่าจีนได้ค้นพบการสังเคราะห์คาร์บอนมอนอกไซด์เป็นโปรตีนได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในโลก และได้สร้างกำลังการผลิตทางอุตสาหกรรมได้ถึง 10,000 ตัน การค้นพบครั้งนี้ช่วยให้จีนสามารถทลายข้อจำกัดในการสังเคราะห์โปรตีนจากพืชธรรมชาติ ซึ่งเป็นจุดอ่อนสำคัญในการเกษตรของจีนที่ต้องพึ่งพาการอุปทานจากต่างประเทศเป็นหลัก

ดร. ซวี หมิน (Xue Min-薛敏) หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของโครงการและนักวิจัยของสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรแห่งประเทศจีนกล่าวว่า การสังเคราะห์โปรตีนตามธรรมชาติมักเกิดขึ้นในพืชหรือจุลินทรีย์จำเพาะที่ตรึงไนโตรเจนได้ โดยน้ำตาลที่สร้างคาร์โบไฮเดรตจากการสังเคราะห์ด้วยแสงตามธรรมชาติ แล้วผ่านการแปลงทางชีววิทยาที่ซับซ้อนและปฏิกิริยาของเอนไซม์ผ่านวัฏจักรกรดไตรคาร์บอกซิลิก กรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับการสังเคราะห์โปรตีนจะถูกสร้างขึ้นและสังเคราะห์เป็นโปรตีนซึ่งเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและตอบสนองช้า ประสิทธิภาพในการแปลงโปรตีนต่ำ ดังนั้นโปรตีนที่ได้จึงมีปริมาณไม่มาก

ดร. ซวี หมินเน้นว่าภายใต้สภาวะแวดล้อมมแบบสร้างขึ้นมา การใช้คาร์บอนมอนอกไซด์และแหล่งไนโตรเจน (แอมโมเนีย) ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเพื่อสังเคราะห์โปรตีนในปริมาณมากๆ ก็จะสามารถขจัดข้อจำกัดกระบวนการทางธรรมชาติได้ ซึ่งได้รับการยอมรับจากวงวิชาการนานาชาติมาช้านานแล้วว่าเป็นเทคโนโลยีชั้นสูงที่ปฏิวัติวงการที่ส่งผลต่อการพัฒนาและการดำรงชีวิตของมนุษย์

หลังจากที่ทางสถาบันฯและ Beijing Shoulang Biotechnology Co., Ltd. ได้ร่วมกับพัฒนาและแก้ไขปัญหาและข้อจำกัดต่าง ๆ มาหลายปี ในที่สุดสามารถทลายข้อจำกัดทางเทคโนโลยีโดยสามารถเพิ่มความเร็วของปฏิกิริยา (การสังเคราะห์ 22 วินาที) และได้ผลผลิตโปรตีนสูงสุดถึง 85%

หากเทียบจากการผลิตโปรตีนเชิงอุตสาหกรรมในปริมาณ10 ล้านตัน (ปริมาณโปรตีน 83%) เทียบเท่ากับถั่วเหลือง (ปริมาณโปรตีน 30%) ซึ่งต้องนำเข้าถึง 28 ล้านตัน ที่สำคัญคือ วิธีนี้จะ”ไม่เบียดเบียนอาหารของมนุษย์ ไม่เบียดเบียนที่เพาะปลูก” เป็นการผลิตโปรตีนอาหารสัตว์วิถีใหม่ที่มีต้นทุนต่ำแต่ได้คุณภาพสูงเมื่อเทียบกับวิธีแบบดั้งเดิน และยังสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 250 ล้านตัน และช่วยประหยัดพื้นที่เพาะปลูกได้ 1 พันล้านหมู่* (1 หมู่เท่ากับ 666.67 ตร.ม.)

*อิงจากผลผลิตถั่วเหลือเฉลี่ย 150 กก.ต่อ 666.67 ตร.ม.